อารยธรรมสมัยกลาง
อารยธรรมสมัยกลาง |
ในสมัยกลาง สังคมตะวันตกตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของสถาบันคริสต์ศาสนาและการปกครองระบบฟิวดัล กล่าวคือ คริสต์ศาสนาสามารถสร้างศรัทธาให้แก่ชาวตะวันตกจนสามารถเป็นผู้ชี้นำสังคมทั้งด้านความเชื่อ จริยธรรม การดำเนินชีวิต การปกครอง ศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ ส่วนระบบฟิวดัลที่เกิดจากความอ่อนแอของอำนาจส่วนกลางก็ทำให้บรรดาขุนนางสามารถก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในการกำหนดฐานะและสิทธิต่างๆ ของปัจเจกชนที่ส่วนใหญ่มีฐานะเป็นข้าติดที่ดินได้ ดังนั้น จึงเห็นได้ว่าอารยธรรมในสมัยกลางเกิดจากการส่งเสริมและทำนุบำรุงของพระและขุนนางเป็นส่วนใหญ่ จึงสะท้อนให้เห็นถึงเรื่องราวและอิทธิพลของคริสต์ศาสนาและขุนนางในสังคมสมัยกลาง
เหตุการณ์สำคัญในยุโรปกลาง
สถาปัตยกรรม


สถาปัตยกรรมแบบโรมาเนสก์
ในสมัยกลางมีผลงานด้านสถาปัตยกรรมที่สำคัญอยู่ 2 แบบ คือ แบบโรมาเนสก์ และ แบบกอทิก ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงต่อการสร้างวัดและมหาวิหารในคริสต์ศาสนา ศิลปะแบบโรมาเนสก์เป็นศิลปะที่เจริญรุ่งเรืองก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 11 เกิดจากการสืบทอดของศิลปะโรมัน วัดหรืออาคารประกอบด้วยประตูหน้าต่างโค้งกลมแบบสถาปัยกรรมโรมัน กำแพงหนา กระเบื้องปูพื้นขนาดใหญ่ บานหน้าต่างเล็กและเรียวยาว บรรยากาศภายในทึมและมืดครึ้ม มองภายนอกเหมือนป้อมปราการ และอาจใช้เป็นที่หลบภัยของประชาชนเมื่อเกิดอันตรายจากศัตรูได้ มีภาพหินโมเสกประดับ ศิลปะแบบโรมาเนสก์นี้จะให้ความรู้สึกที่แข็งแกร่งและห้าวหาญแก่ผู้ที่พบเห็น และนับเป็นศิลปะที่เป็นแบบอย่างของการก่อสร้างโดยทั่วไปในระหว่างสมัยกลางตอนต้น
ในระหว่าง ค.ศ. 1150-1300 ซึ่งอยู่ในช่วยระยะเวลาแห่งความเจริญที่เรียกว่า สมัยกลางยุครุ่งโรจน์ ศิลปะแบบโรมาเนสก์ได้พัฒนาเปลี่ยนเป็นรูปแบบกอทิกที่มีลักษณะโปร่งบางและแลดูอ่อนช้อยมากกว่า จุดเด่นของศิลปะแบบกอทิก คือ ใช้อิฐปูนค้ำยันจากภายนอก และการใช้เสาหินเพื่อรองรับน้ำหนักของหลังคา ทำให้ศิลปะแบบกอทิกไม่ต้องอาศัยกำแพงที่หนาเพื่อรับน้ำหนักของหลังคา รูปแบบของศิลปะแบบกอทิกจึงมองดูเพรียวมากกว่า ส่วนประตูหน้าต่างก็เปลี่ยนแบบจากโค้งกลมขนาดเล็กเป็นโค้งแหลมขนาดกว้างที่แสงสว่างสามารถลอดผ่านได้ นอกจากนี้บนกำแพงยังสามารถประดับด้วยกระจกสีขนาดใหญ่ด้วยสีสันงดงาม ภายในโบสถ์วิหารกอทิกประดับด้วยรูปแกะสลักของนักบุญตามลักษณะที่เหมือนจริงตามธรรมชาติซึ่งเป็นลักษณแตกต่างไปจากศิลปะแบบโรมาเนสก์ที่ไม่พิถีพิถันในเรื่องของความงาม นักศิลปะแบบกอทิกสะท้อนให้เห็นว่าสมัยกลางยุครุ่งโรจน์เริ่มมีความรู้สึกนึกคิดถึงความสวยงามของธรรมชาติและมนุษย์มากขึ้น ศิลปะแบบกอทิกยังสะท้อนให้เห็นถึงความสามารถทางสติปัญญาและอัจฉริยะของศิลปินในสมัยกลางเป็นอย่างดี โบสถ์วิหารที่สวยงามในปัจจุบัน เช่น มหาวิหารแซงต์เอเตียนน์ มหาวิหารนอเตรอดาม มหาวิหารแซงต์ชาแปลล์ในฝรั่งเศส และมหาวิหารออร์เวียตโตในอิตาลี ล้วนแต่เป็นศิลปกรรมกอทิกที่ก่อสร้างในสมัยกลางทั้งสิ้น

สถาปัตยกรรมแบบโกทิก
วรรณกรรม
วรรณกรรมในสมัยกลางนอกจากจะเน้นเรื่องราวความเชื่อในคริสต์ศาสนา แล้วยังมีวรรณกรรมทางโลกด้วย แต่งเป็นภาษาละตินซึ่งถือกันว่าเป็นภาษาหนังสือที่เป็นสากล และเป็นภาษาสำคัญทางศาสนา วรรณกรรมทางศาสนาที่มีอิทธิพลต่อแนวความคิดของคริสต์ศาสนิกชนในสมัยกลางมากที่สุดเล่มหนึ่ง ได้แก่ เทวนคร เขียนโดยนักบุญออกัสตินในสมัยปลายจักรวรรดิโรมัน งานเขียนอีกชิ้นหนึ่งที่ความสำคัญทัดเทียมกัน คือ มหาเทววิทยา โดยนักบุญทอมัส อะไควนัส ซึ่งใช้สอนในวิชาเทววิทยาในมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อและศรัทธาในคริสต์ศาสนาอย่างมีเหตุผล
มหากาพย์(epic)
ในฝรั่งเศสเรียกว่า ชองซองเดอเจสต์(Chanson de Geste) เป็นเรื่องราวของการสร้างวีรกรรมของวีรบุรุษในอดีตนิยมประพันธ์ด้วยโคลงกลอน แพร่หลายในคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 วรรณกรรมประเภทนี้ที่สำคัญ ได้แก่ ชองซองเดอโรลองด์(Chanson de Roland) ซึ่งเป็นเรื่องราวการต่อสู้ของโรลองด์ ทหารคนสนิทของจักรพรรดิชาร์เลอมาญกับกองทัพของพวกซาราเซ็นซึ่งเป็นมุสลิมที่เดินทัพมาจากสเปนเพื่อพิชิตยุโรปตะวันตก กองทัพของโรลองด์ถูกฝ่ายมุสลิมซุ่มโจมตีในเทือกเขาพิเรนีส โรลองด์เสียชีวิตในสนามรบ ชองซองเดอโรลองด์เป็นที่นิยมของพวกชนชั้นสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกนักรบ เพราะสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติ ความกล้าหาญ ความเสียสละของนักรบ อุดมการณ์ จริยธรรม ตลอดจนความมีศรัทธาในคริสต์ศาสนาอย่างเด่นชัด

ในฝรั่งเศสเรียกว่า ชองซองเดอเจสต์(Chanson de Geste) เป็นเรื่องราวของการสร้างวีรกรรมของวีรบุรุษในอดีตนิยมประพันธ์ด้วยโคลงกลอน แพร่หลายในคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 วรรณกรรมประเภทนี้ที่สำคัญ ได้แก่ ชองซองเดอโรลองด์(Chanson de Roland) ซึ่งเป็นเรื่องราวการต่อสู้ของโรลองด์ ทหารคนสนิทของจักรพรรดิชาร์เลอมาญกับกองทัพของพวกซาราเซ็นซึ่งเป็นมุสลิมที่เดินทัพมาจากสเปนเพื่อพิชิตยุโรปตะวันตก กองทัพของโรลองด์ถูกฝ่ายมุสลิมซุ่มโจมตีในเทือกเขาพิเรนีส โรลองด์เสียชีวิตในสนามรบ ชองซองเดอโรลองด์เป็นที่นิยมของพวกชนชั้นสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกนักรบ เพราะสะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติ ความกล้าหาญ ความเสียสละของนักรบ อุดมการณ์ จริยธรรม ตลอดจนความมีศรัทธาในคริสต์ศาสนาอย่างเด่นชัด

นิยายวีรคติหรือนิยายโรมานซ์(romance)
ประพันธ์เป็นคำกลอน เกิดในยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 ต่อมาได้เจริญแพร่หลายในฝรั่งเศส อังกฤษและเยอรมัน นิยายวีรคติเป็นเรื่องราวความจงรักภักดีของอัศวินต่อเจ้าและขุนนาง และความรักแบบเทิดทูนที่อัศวินมีต่อสตรี นิยายวีรคติคล้ายกับมหากาพย์ ต่างกันตรงที่มหากาพย์มีความยาวมากกว่าและไม่มีเรื่องของความรักเข้ามาเกี่ยวข้อง นิยายวีรคติที่รู้จักกันเท่าไป คือ กษัตริย์อาเทอร์กับอัศวินโต๊ะกลม
คีตกานท์(lyric)
เป็นบทร้อยกรองที่กล่าวถึงความในใจ เกิดในฝรั่งเศสภายใต้เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยนักร้องเร่ที่เรียกตัวเองว่า ตรูบาดูร์(Troubadour) แต่งเพื่อขับร้องคลอเสียงพิณ นิยมร้องและบรรเลงในปราสาทของขุนนางและราชสำนัก เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักแบบเทิดทูนต่อสตรีสูงศักดิ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากราชสำนักของพวกมุสลิม การเทิดทูนสตรีที่สูงศักดิ์ดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดระเบียบวิธีปฏิบัติที่บุรุษควรมีต่อสตรีเพศ หรือที่เรียกว่า ธรรมเนียมวีรคติ ซึ่งถือปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในหมู่อัศวินนักรบของสมัยกลางในภายหลังโดยถือว่าการอุทิศตนเพื่อสตรีที่รักทำให้ชีวิตของการเป็นอัศวินมีคุณค่าและมีเกียรติยศยิ่งนัก
นิทานฟาบลิโอ(fabliau)
เล่าเรื่องขนาดสั้นเขียนเป็นบทร้อยกรอง มุ่งเสียดสีสังคมสมัยนั้น มักเป็นเรื่องของนักบวชหรือเรื่องของสตรี เดิมเป็นนิทานของฝรั่งเศส แต่มีกรากฏในวรรณกรรมอังกฤษด้วย เล่มสำคัญได้แก่ แคนเทอร์เบอรีเทลส์ ของ เจฟฟรีย์ ชอเซอร์ กวีเอกชาวอังกฤษ เป็นโคลงเล่าเรื่อง 24 เรื่องที่นักจาริกแสวงบุญเล่าสู่กันฟังในช่วงพักค้างคืนระหว่างการเดินทางไปแสวงบุญ ณ ที่ฝังศพของนักบุญทอมัส เบ็คเก็ต ในแคนเทอร์เบอรีเทลส์ เรื่องราวสะท้อนให้เห็นถึงนิสัยและบุคลิกของปุถุชนคนธรรมดาซึ่งมีต่างๆกัน
ประพันธ์เป็นคำกลอน เกิดในยุโรปตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 ต่อมาได้เจริญแพร่หลายในฝรั่งเศส อังกฤษและเยอรมัน นิยายวีรคติเป็นเรื่องราวความจงรักภักดีของอัศวินต่อเจ้าและขุนนาง และความรักแบบเทิดทูนที่อัศวินมีต่อสตรี นิยายวีรคติคล้ายกับมหากาพย์ ต่างกันตรงที่มหากาพย์มีความยาวมากกว่าและไม่มีเรื่องของความรักเข้ามาเกี่ยวข้อง นิยายวีรคติที่รู้จักกันเท่าไป คือ กษัตริย์อาเทอร์กับอัศวินโต๊ะกลม
คีตกานท์(lyric)
เป็นบทร้อยกรองที่กล่าวถึงความในใจ เกิดในฝรั่งเศสภายใต้เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยนักร้องเร่ที่เรียกตัวเองว่า ตรูบาดูร์(Troubadour) แต่งเพื่อขับร้องคลอเสียงพิณ นิยมร้องและบรรเลงในปราสาทของขุนนางและราชสำนัก เป็นเรื่องเกี่ยวกับความรักแบบเทิดทูนต่อสตรีสูงศักดิ์ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากราชสำนักของพวกมุสลิม การเทิดทูนสตรีที่สูงศักดิ์ดังกล่าวนี้ก่อให้เกิดระเบียบวิธีปฏิบัติที่บุรุษควรมีต่อสตรีเพศ หรือที่เรียกว่า ธรรมเนียมวีรคติ ซึ่งถือปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดในหมู่อัศวินนักรบของสมัยกลางในภายหลังโดยถือว่าการอุทิศตนเพื่อสตรีที่รักทำให้ชีวิตของการเป็นอัศวินมีคุณค่าและมีเกียรติยศยิ่งนัก
นิทานฟาบลิโอ(fabliau)
เล่าเรื่องขนาดสั้นเขียนเป็นบทร้อยกรอง มุ่งเสียดสีสังคมสมัยนั้น มักเป็นเรื่องของนักบวชหรือเรื่องของสตรี เดิมเป็นนิทานของฝรั่งเศส แต่มีกรากฏในวรรณกรรมอังกฤษด้วย เล่มสำคัญได้แก่ แคนเทอร์เบอรีเทลส์ ของ เจฟฟรีย์ ชอเซอร์ กวีเอกชาวอังกฤษ เป็นโคลงเล่าเรื่อง 24 เรื่องที่นักจาริกแสวงบุญเล่าสู่กันฟังในช่วงพักค้างคืนระหว่างการเดินทางไปแสวงบุญ ณ ที่ฝังศพของนักบุญทอมัส เบ็คเก็ต ในแคนเทอร์เบอรีเทลส์ เรื่องราวสะท้อนให้เห็นถึงนิสัยและบุคลิกของปุถุชนคนธรรมดาซึ่งมีต่างๆกัน

นิทานอุทาหรณ์(fable)
เป็นนิทานร้อยแก้วหรือร้อยกรองใคือนลักษณะของนิทานอีสปที่มีชื่อเสียงที่สุด นิทานชุดโรมานซ์ออฟรีนาร์ด(The Romance of Renard) เริ่มแต่งในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และมีผู้แต่งต่อๆกันมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของสุนัขจิ้งจอกชื่อรีนาร์ด เนื้อหาล้อเลียนเสียดสีสังคมฝรั่งเศสในสมัยกลาง เรื่องสุนัขจิ้งจอกรีนาร์ดที่แต่งในระยะหลังประณามระบบฟิวดัล กระบวนการยุติธรรม และวงการศาสนาอย่างรุนแรง
เป็นนิทานร้อยแก้วหรือร้อยกรองใคือนลักษณะของนิทานอีสปที่มีชื่อเสียงที่สุด นิทานชุดโรมานซ์ออฟรีนาร์ด(The Romance of Renard) เริ่มแต่งในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และมีผู้แต่งต่อๆกันมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 14 เป็นเรื่องราวของสุนัขจิ้งจอกชื่อรีนาร์ด เนื้อหาล้อเลียนเสียดสีสังคมฝรั่งเศสในสมัยกลาง เรื่องสุนัขจิ้งจอกรีนาร์ดที่แต่งในระยะหลังประณามระบบฟิวดัล กระบวนการยุติธรรม และวงการศาสนาอย่างรุนแรง
เมืองที่เกิดจากการค้า
ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 11 การค้าของโลกตะวันตกได้ฟื้นตัวอีกครั้งหลังจากชะงักงันเป็นเวลาหลายร้อยปี อันเนื่องมาจากการรุกรานของพวกอนารยชน และการเข้ายึดครองทะเลเมดิเตอร์เรเนียนของพวกมุสลิมที่ทำให้การค้าทางทะเลของตะวันตกและตะวันออกต้องสิ้นสุดลง การฟื้นตัวของการค้าดังกล่าวนี้ยังก่อให้เกิดการฟื้นตัวของบรรดาเมืองเก่าที่เคยรุ่งเรืองในสมัยจักรวรรดิโรมันและการเกิดของเมืองใหม่ๆ ในคาบสมุทรอิตาลีจนถึงคาบสมุทรสแกนดิเนเวียตลอดจนดินแดนยุโรปตะวันออกอีกด้วย เมืองกลายเป็นศูนย์กลางการค้าและวัฒนธรรมของยุโรป เกิดสมาคมอาชีพ ที่ควบคุมการดำเนินงานและการจัดสวัสดิการของคนกลุ่มอาชีพเดียวกัน เกิดระบบการเก็บภาษีอากร การปกครองแบบท้องถิ่นที่เรียกว่า เทศบาล ตลาดนัด งานแสดงสินค้า ธนาคาร ฯลฯ ที่เป็นพื้นฐานของวัฒนธรรมเองในปัจจุบัน โดยเฉพาะการทำสัญญา และการกู้ยืมเงินของบรรดาพ่อค้าต่อกันก่อให้เกิดความจำเป็นในการกำหนดวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดของปีที่แน่นอน พวกพ่อค้าได้กำหนดให้วันที่ 1 มกราคมเป็นวันเริ่มต้นของปีใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับวันเฉลิมฉลองปีใหม่ของชาวโรมันที่เคยปฏิบัติมา
มหาวิทยาลัยตะวันตก
มหาวิทยาลัยนับเป็นมรดกที่สำคัญของยุโรปในสมัยกลาง และเป็นผลิตผลโดยตรงของสังคมเมือง มหาวิทยาลัยในระยะแรกเกิดจากการรวมตัวของอาจารย์และนักศึกษา และมีลักษณะเป็นสมาคมอาชีพเช่นเดียวกับสมาคมอาชีพอื่นๆ ที่รวมคนอาชีพเดียวกันไว้ด้วยกัน สมาคมอาชีพของอาจารย์และนักศึกษาดังกล่าวนี้เรียกว่า ยูนิเวอร์ซิตี(university)
ในคริสต์ศตวรรษที่ 11-12 มหาวิทยาลัยเกิดขึ้นจากการขยายตัวและพัฒนาการของโรงเรียนวัด ซึ่งเป็นสถานที่อบรมสั่งสอนพระหรือนักบวช และโรงเรียนมหาวิหาร ซึ่งเป็นสถานที่ให้การอบรมสั่งสอนทั้งนักบวชและประชาชนทั่วไปโดยมีมหาวิทยาลัยปารีสเป็นผู้นำทางภาคเหนือ และมหาวิทยาลัยโบโลญญาเป็นผู้นำยุโรปทางใต้ นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นพระหรือลูกหลานของขุนนางและพ่อค้า มหาวิทยาลัยเจริญเติบโตในเวลาอันรวดเร็ว อันเนื่องมาจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเมือง สงครามครูเสด และการรับความรู้ใหม่ๆ จากทางยุโรปตะวันออกและเอเชียไมเนอร์ เช่น วิชาปรัชญา คณิตศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ นิติศาสตร์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่สูญหายไปจากยุโรปตะวันตกตั้งแต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันมหาวิทยาลัยในระยะแรกเริ่มมีหลักสูตรที่แน่นอน และนำเอาระบบสมาคมอาชีพมาใช้ในการฝึกหัดนักศึกษา การศึกษาในระดับมหาวิทยาลัยในสมัยกลางเจริญแพร่หลายอย่างกว้างขวาง เมื่อสิ้นสมัยกลางปรากฏว่ามีมหาวิทยาลัยในยุโรปทั้งสิ้นกว่า 80 แห่ง
มหาวิทยาลัยหลายแห่งในยุโรปที่ตั้งในสมัยกลาง เช่น มหาวิทยาลัยปารีส โบโลญญา ปาดัว ออกซ์ฟอร์ด และเคมบริดจ์ ยังคงเป็นมหาวิทยาที่มีเชื่อเสียงตราบเท่าทุกวันนี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น